PRE-STUDY

 

ICT Evolution in Education  -  24 มิ.ย. – 7 ก.ค 2556


PRE-STUDY SEARCH

                                     GROUP 1 | GROUP 2 | GROUP 3                                          



____________________________________________________________________

18/6/2013 - 18:21

ผู้รับผิดชอบ : วิไลลักษณ์ ตั้งศิริธงชัย รหัส 5617650271

IT/ICT Innovation

ตามแนวคิดการศึกษาแผนใหม่ ทำให้รูปแบบการเรียนการสอนเปลี่ยนแปลงไป โดยให้น.ร.เป็นศูนย์กลาง มีการเรียนรู้ร่วมกัน เนื้อหาการสอนยืดหยุ่นหลากหลากมากขึ้น มีการใช้เทคโนโลยี สามารถเรียนรู้หัวข้อตามความสนใจ (Non-linear) และเริ่มต้นศึกษาเรื่องต่างๆจากปัญหาที่มี ทำให้การนำ IT เข้ามาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนมากขึ้น ซึ่งทำให้เกิดสื่อเทคโนโลยีใหม่ๆตามมา 

CAI (การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน)
จากยุคที่ใช้แผ่นโปร่งใส มาเป็นการใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยสอน (CAI) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคอมพิวเตอร์มีราคาถูกลงและอินเตอร์เน็ตแพร่หลายมากขึ้น

เมื่อ CAI  เป็นที่แพร่หลาย สถาบันต่างๆเริ่มผลิตโปรแกรมบทเรียน (Authoring Tools)มาใช้สร้างบทเรียนซึ่งพัฒนารูปแบบออกเป็น
1.Adaptive CAI   คือ  โปรแกรมที่ปรับแนวการสอนตามความสามารถของผู้เรียน
2.Intelligent CAI คือ โปรแกรมที่มีความสามารถเหมือนอาจารย์
3.สื่อบันทึก CAI

ปัญหาของCAI
- ต้องมีผู้เชี่ยวชาญทำเนื้อหา หรือ ถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียนเป็นCAI
- ต้องใช้เครื่องมือทำภาพประกอบ เช่น กราฟฟิกส์ ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหว
- CAI ยังไม่สัมพันธ์กับหลักสูตร เนื่องจากแบ่งทำเป็นส่วนๆ ไม่เป็นองค์รวม
- ไม่มีการทดสอบผลสัมฤทธิ์
- โปรแกรมบทเรียนที่คุณภาพยังต่ำ

WBT (การสอนโดยใช้เว็บ)
เมื่อระบบอินเตอร์เน็ตและเวิลด์ไวด์เว็บสะดวกมากขึ้น อาจารย์ได้รับการสนับสนุนให้สร้างเว็บไซต์นำเนื้อหาวิชามาบรรยาย ทำให้สามารถนำเสนอบทเรียนทางเว็บ CAI จึงพัฒนาไปเป็น WBT ซึ่งหากมีเนื้อหามากพอก็อาจทำให้เป็น Virtual University ได้

สิ่งพึงตระหนักสำหรับ WBT
- ต้องมีความพร้อมทางระบบ เครื่องมือ อาจารย์ผู้มีความรู้ การสนับสนุนจากองค์กร
- ต้องมีทัศนคติที่ปรับตัวรับวิวัฒนาการใหม่
- กระบวนการเรียนที่ต้องเปลี่ยนแปลงไปให้เหมาะสม
- ต้องมีการสำรวจดัชนีชี้วัดความสำเร็จ
- ต้องมีแนวทางเชิงรุกสำหรับอนาคต

ปัญหาของWBT
- ไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษากับอาจารย์ หรือ ระหว่างนักศึกษาด้วยกันเอง
- เกิดประโยชน์ได้ยากหากไม่มีความใฝ่รู้ในตัวผู้เรียนผู้สอน
- ไม่สามารถวัดคุณภาพได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ 

e-Learning 
หมายถึง การบรรจุบทเรียนไว้ในเว็บให้นิสิตนักศึกษาได้ศึกษาหาความรู้ ซึ่งมีประโยชน์หลากหลาย คือ
นอกเหนือจากแวดวงการศึกษาแล้ว ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในด้านการฝึกอบรม การพัฒนาความรู้และทักษะส่วนตัวให้แก่คนทั่วไป เช่น เรื่องการดูแลสุขภาพ ออกกำลังกาย การเล่นโยคะ เป็นต้น

Digital Library (ห้องสมุดดิจิตอล)
หมายถึง ห้องสมุดที่นำเนื้อหาต่างๆ เช่น หนังสือ วารสาร ภาพ แผนที่ วิดีทัศน์ ฯลฯ มาจัดทำเป็นข้อมูลในคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถหามาอ่าน ฟัง หรือชมได้

Virtual Library (ห้องสมุดเสมือน)
หมายถึง ห้องสมุดที่เราสามารถอยู่ที่บ้านแล้วหาข้อมูลต่างๆทางอินเตอร์เน็ต และยังสารถเชื่อมโยงไปหาข้อมูลที่ห้องสมุดนั้นๆไม่ได้เก็บเอาไว้ โดยเราไม่ได้ไปห้องสมุดจริงๆ

แนวโน้ม IT/ICT Innovation
- smart card ที่จัดเก็บข้อมูลได้มาก
- อุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่หลากหลาย มีความเร็วสูง ราคาถูกลง
- อุปกรณ์ที่สามารถกำหนดพิกัดและส่งข้อมูลโดยอัตโนมัติ
- เว็บ 3.0
- ระบบโทรคมนาคมที่เร็วขึ้น เช่น 3G  4G
...............................................................................................................................................
ผู้รับผิดชอบ : วิไลลักษณ์ ตั้งศิริธงชัย รหัส 5617650271
บทความที่รับผิดชอบ  :  Digital & Virtual และ e-Learning

 Digital & Virtual

ความหมายและความแตกต่าง

Digital

●สัญญาณการทำงานในอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้หลักการ "นับ" ตรงกันข้ามกับ Analog ที่ใช้
  หลักการ "วัด"
●ทำงานได้แม่นยำกว่า ชัดเจนกว่า ศักยภาพสูงกว่าจึงนำมาพัฒนาเป็น digital computer
● digital library หมายถึง ห้องสมุดที่นำเนื้อหาต่างๆ เช่น หนังสือ วารสาร ภาพ แผนที่
  วิดีทัศน์ ฯลฯ มาจัดทำเป็นข้อมูลในคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถหามาอ่าน ฟัง หรือ
  ชมได้

Virtual

● มีความหมายว่า เสมือน ซึ่งก็คือ เหมือนมีอยู่จริง แต่ไม่ได้มีตัวตนจริง
● มาจากพัฒนาการของคอมพิวเตอร์ เช่น หน่วยความจำเสมือน (virtual memory)
  โดยหมายถึง หน่วยความจำที่เหมือนมีตัวตนจริง (แต่ไม่มีจริง) จำลองขึ้นมาจากหน่วย
   ความจำอื่นที่ด้อยกว่า
● virtual library หมายถึง ห้องสมุดที่เราสามารถอยู่ที่บ้านแล้วหาข้อมูลต่างๆทางอินเตอร์
  เน็ต และยังสารถเชื่อมโยงไปหาข้อมูลที่ห้องสมุดนั้นๆไม่ได้เก็บเอาไว้ โดยเราไม่ได้ไป
  ห้องสมุดจริงๆ
● Virtual Classroom, Virtual University ก็เป็นคำที่นำ "virtual" ประยุกต์ใช้ นอกเหนือ
  จากห้องสมุด

...........................................................................................................

e-Learning 

★ คือ การบรรจุบทเรียนไว้ในเว็บให้นิสิตนักศึกษาได้ศึกษาหาความรู้
★ สัณนิษฐานว่า แนวคิดนี้น่าจะริเริ่มและพัฒนาโดยหลายคน แต่ในเมืองไทยยังไม่มี
  ข้อมูลเพียงพอที่จะสืบค้น เนื่องจากงบประมาณไม่เพียงพอในการสมัครเป็นสมาชิก
  วารสารวิชาการในต่างประเทศได้ทั้งหมด
★ ในเมืองไทย ผู้เริ่มผลักดันเรื่องนี้ คือ อ.ยืน ภู่วรวรรณ ในสมัยที่เป็นผู้อำนวยการ
  สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
★ ประโยชน์ของ e-Learning : นอกเหนือจากแวดวงการศึกษาแล้ว ยังสามารถนำไป
   ประยุกต์ใช้ในด้านการฝึกอบรม การพัฒนาความรู้และทักษะส่วนตัวให้แก่คนทั่วไป เช่น
   เรื่องการดูแลสุขภาพ ออกกำลังกาย การเล่นโยคะ เป็นต้น






5 comments:

Jik said...

ICT Innovation ถือว่ามีส่วนสำคัญมากในการเรียนการสอนที่ไร้พรมแดน การสื่อสารที่รวดรวด และการบริหารจัดการที่ไร้กระดาษ...
สื่อที่นำเสนอน่าสนใจและนำไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลายมากคะ..

tareerutaof said...

IT/ICT คือ CAI WBT e-Learning เป็นนวัตกรรมที่ใช้ในเป็นสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย
ขอบคุณนะค่ะที่สรุปเนื้อหาดีๆมาให้เราอ่านค่ะ

Wilailuck Tangsirithongchai said...

ขอบคุณเช่นกันที่มาอ่านและคอมเม้นท์ค่ะ จะพยายามต่อไปนะคะ

Unknown said...

สรุปเนื้อหาได้เข้าใจและชัดเจนมากเลยค่ะ

Unknown said...

ได้อ่านแล้ว ขอบคุณคะที่นำเสนอข้อมูลที่เป็นประโชน์ทำให้ได้แลกเปลี่วนเรียนรู้